วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นวตกรรมปักหมุด ธงชัย ต้านภัยไข้เลือดออก


ชื่อเรื่อง       หัวใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
 ผู้เล่า    นายรุ่งโรจน์ ทีอุทิศ   ผู้อำนวยการ รพ.สต.ขามเปี้ย   อ.ตระการพืชผล  จ.อุบลราชธานี
 ที่มาและความสำคัญ
                   การดำเนินงานการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนที่ผ่านมาในแต่ละปีมีการใช้งบประมาณมาก แต่ละชุมชนมีการใช้มาตรการที่หลากหลายแต่ความสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าวขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนไม่มีความตระหนักที่จะกำจัดลูกน้ำในที่พักอาศัยของตนเอง เครือข่ายบริการและสถานบริการสาธารณสุขแต่ละแห่งพยายาม สร้างทีมงานในการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน แต่ปัญหาที่พบก็คือ กลับกลายเป็นว่าประชาชนต้องพึ่งทีมเหล่านี้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและชุมชนก็ยังแก้ไขปัญหาด้านความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ได้  ชุมชนหลายชุมชน พยายามที่จะใช้มาตรการทางกฎหมาย โดยการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำข้อบังคับหรือเทศบัญญัติ เพื่อให้ประชาชน ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลาย แต่การบังคับตามมาตรการทางกฎหมาย ไม่ได้ ผลเพราะต้องดำเนินงานโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ยังต้องคำนึงถึงฐานเสียงด้านการเมืองในการสนับสนุนด้านการเลือกตั้ง การบังคับใช้มาตรการดังกล่าว จึงไม่สำเร็จ รพ.สต.ขามเปี้ย จึงได้แรงบันดาลใจจากแนวทางการพัฒนา รพ.สต. ตามเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ซึ่งต้องใช้มาตรการด้านประชาคม ในการรองรับการสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ กลไกการสร้างมาตรการทางสังคม เป็นกลไกที่สำคัญกลไกหนึ่งที่ได้จากการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกของตำบลขามเปี้ยได้ 
                  โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ติดเป็นอันดับ 1-10 ของประเทศไทยมาตลอด   ตำบลขามเปี้ย เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาเช่นกัน ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน พบว่า ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ไม่ว่าจะเป็นค่า HI และ CI  ของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน มีค่าสูง โดยเฉพาะในฤดูฝน จะมีค่าทั้งสองค่า สูงมากกว่าปกติ อันเนื่องมาจากจำนวนภาชนะขังน้ำมีมากขึ้น ปัจจัยที่ทำให้ค่า   HI และ CI  ของหมู่บ้าน/ชุมชน แต่ละแห่ง มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ปกติ      ปัจจัยที่สำคัญในการแพร่ระบาดของโรคก็คือ สภาพภูมิอากาศ ที่มีฝนตกชุกตลอดปี เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การแพร่กระจายของยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรค แต่ก็มีอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการแพร่กระจายของยุงลายในพื้นที่   คือ   ความตระหนักของประชาชนในชุมชน ที่มีพื้นฐานความรู้เรื่องไข้เลือดออกเป็นอย่างดี   แต่ไม่มีการกำจัดลูกน้ำยุงลายในที่อยู่อาศัยของตนเอง อย่างต่อเนื่อง สำรวจครั้งใด ก็พบลูกน้ำยุงลายเสมอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. มักได้ยินคำถาม อย่างนี้ ตลอดในช่วงเวลาที่ผ่านมาหน้าที่ของการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ถูกประชาชนผลักภาระให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หรือ อสม. ทั้งที่จริงการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ต้องเป็นหน้าที่ของประชาชนในการดูแลให้บ้านเรือนของตนเองให้ปลอดจากลูกน้ำยุงลายนำพาให้ชุมชนปลอดยุงลายและปราศจากโรคไข้เลือดออก

มาตรการทางสังคม
                       ดังนั้นการสร้างมาตรการทางสังคม โดยให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดมาตรการเอง จึงเป็นกลไกสำคัญในการสร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักของประชาชนในแต่ละชุมชน ในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย จึงเป็นมาตรการเสริมที่สำคัญมาตรการหนึ่งในการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก      

ชุมชนร่วมคิด
ผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเริ่ม การวิเคราะห์ชุมชน  ร่วมจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ร่วมกับคณะกรรมการบริหาร รพ.สต.ตระการพืชผลและคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตระการพืชผล โดยเริ่มจากการเขียนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ   (mini SLM)  ให้เป็นแผนชุมชน มีการกำหนดให้ปัญหาโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาที่สำคัญต้องมีแผนปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาและมีการกำหนดกิจกรรมการใช้มาตรการทางสังคมเป็นกิจกรรมหลักในการดำเนินการ ติดธงสีเขียว ให้บ้านที่ไม่พบลูกน้ำยุงลาย        ติดธงสีแดง ให้บ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย และปรับเงิน ตามจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย  ตามด้วยการ จัดเวทีสาธารณะ เพื่อจัดประชาคมโดยตัวแทนชุมชน เช่น คณะกรรมการบริหาร รพ.สต.ขามเปี้ย คณะกรรมการกองทุนฯตำบลขามเปี้ย อบต.ขามเปี้ย ผู้นำชุมชน อสม. และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชน กำหนดมาตรการทางสังคมในการสร้างความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลายของประชาชนในตำบลขามเปี้ย ส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลขามเปี้ย หลังจากชุมชนจัดทำโครงการเรียบร้อยแล้ว ก็มีงบประมาณสนับสนุน การดำเนินงานให้ครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีกระบวนการที่ชัดเจนขึ้น และที่สำคัญเป็นเครื่องมือควบคุม ที่สามารถทำให้ชุมชน เดินไป ในทิศทางเดียวกัน ภายใต้ข้อตกลงเดียวกัน  หลังจากนั้น คณะกรรมการจึงมอบหมายหน้าที่ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม ชุมชนร่วมทำ ได้แบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ เช่นการประชาสัมพันธ์ การใช้มาตรการทางสังคมให้ประชาชนรับทราบทุกหลังคาเรือนซึ่งเป็นหน้าที่ของสื่อสารชุมชน เช่นหอกระจายข่าวหมู่บ้าน เสียงตามสายขององค์กรท้องถิ่น วิทยุชุมชน ฯ จนมีครัวเรือนร่วมมือในการใช้มาตรการ 101 หลังเจ้าหน้าที่ให้การอบรมความรู้เรื่องไข้เลือดออก การสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตลอดจนแนวทางการสำรวจก็เป็นหน้าที่ของหมอ หน้าที่การสำรวจลูกน้ำยุงลาย และติดธงเขียงหรือธงแดง พร้อมทั้งปรับเงินตามภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายก็เป็น หน้าที่ของทีมสำรวจจะประกอบได้ด้วย อสม. แกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชน  หน้าที่ของผู้ดูแลบัญชีจากการเก็บจากทีมสำรวจ เป็นของ กรรมการกองทุนพัฒนา รพสต.ขามเปี้ย ส่วนหน้าที่ในการสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคเพื่อวางแผนในการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินงานก็เป็นหน้าที่ คณะกรรมการจากทุกส่วนหน้าที่ ร่วมกัน

สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วม
                ในช่วงแรกของการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นทุกบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เมื่อทีมสำรวจ พบลูกน้ำยุงลายเจ้าของบ้านแต่ละหลังก็ยิ้มแล้วเตรียมหยิบเศษสตางค์ออกมาเป็นจ่ายให้ทีมสำรวจ เพราะทุกบ้านว่าตนเองปล่อยประละเลยขาดการดูแลต่อเนื่อง จึงทำให้มีลูกน้ำยุงลาย และเงินที่พวกเขา จ่ายไป ชาวบ้านรู้ดีว่า ไม่ได้สูญหายไปไหน แต่เงินก้อนนี้ก็จะกลับพัฒนาหมู่บ้านของตนเองต่อไปจึงทำให้ชุมชนเกิด ชุมชนร่วมเป็นหุ้นส่วน ขึ้น ในเดือนพฤษภาคม 2555 ทีมสำรวจพบค่า HI 48.74CI 36.27 ทีมสำรวจลงสำรวจทุกสัปดาห์เห็นความเปลี่ยนแปลงในทิศทาง ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านตระหนักในวิถีชีวิตของตนเองจนเดือนกรกฎาคม 2555 สัปดาห์ที่ 4 ค่า HI ลดลงเหลือ 2.02  ค่า CI ลดลง เหลือ 2.13 นี่จึงถือเป็นหยาดเหงื่อที่ไม่เสียเปล่าของทีมงานและชุมชน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
                การมีส่วนร่วมของประชาชนเองและทุกภาคส่วนในชุมชนในการกำหนดมาตรการหรือข้อตกลงร่วมกันทางสังคมประชาชนเองก็มีความพึงพอใจต่อมาตรการที่ชุมชนร่วมสร้างกันขึ้นมาโดยไร้ข้อขัดข้องใจ  การเข้าใจ ของประชาชนถึงปัญหาโรคที่เกิดขึ้น ที่ประชาชนต้องร่วมคิด ร่วมแก้และร่วมใจกันทำจนประสบความสำเร็จ ประชาชนเองก็ภาคภูมิใจที่หมู่บ้านตนเองสามารถสร้างทำเข้มแข็งได้และคงจะก้าวเป็นหมู่บ้านปลอดลูกน้ำ ในอีกไม่ช้า ในส่วน รพสต.ขามเปี้ยก็สามารถใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชนมาประยุกต์เป็นนวัตกรรมในทางเพิ่ม ศักยภาพของการควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลต่อไป 

ขั้นตอนการดำเนินงานสร้างมาตรการชุมชน ด้านการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกใน ต.ขามเปี้ย
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี




































วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดKPIปี 2556

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด KPI ปีงบประมาณ 2556
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย
ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ข้อมูล ณ วันที่  31มกราคม 2556

******************************************************************************************

ผลการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ


ข้อมูลทั่วไป


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต ำบลขามเปี้ย
ตำบลขามเปี้ย  อำเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี
(Primary Care Unit Profile)
..............................................................



ชื่อสถานบริการ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย  ต.ขามเปี้ย  อ.ตระการพืชผล  จ.อุบลราชธานี









ชื่อสถานบริการ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย  ต.ขามเปี้ย  อ.ตระการพืชผล  จ.อุบลราชธานี
ข้อมูลทั่ว  ไปประกอบด้วย
1.แผนที่อำเภอตระการพืชผล






2.แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการ







3. ที่ตั้ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล จังหัดอุบลราชธานี  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอตระการพืชผล  ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีเป็นระยะทาง 34  กิโลเมตร  ห่างจากตัวอำเภอตระการพืชผลเป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร หมู่บ้านที่รับผิดชอบจำนวน 12 หมู่บ้าน
4. อาณาเขตติดต่อ


         
          ทิศเหนือ          จรด    บ้านคำข่า         ตำบลไหล่ทุ่ง     อำเภอตระการพืชผล
          ทิศใต้             จรด    บ้านยางกระเดา   ตำบลท่าเมือง    อำเภอดอนมดแดง
ทิศตะวันออก     จรด    บ้านเซเป็ด        ตำบลเซเป็ด      อำเภอตระการพืชผล
         ทิศตะวันตก      จรด    บ้านบ่อหิน        ตำบลไหล่ทุ่ง     อำเภอตระการพืชผล
 5. เนื้อที่          เขตองค์การบริหารส่วนตำบลขามเปี้ย  มีพื้นที่ทั้งหมดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 95 ตารางกิโลเมตร
สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย
6. ภูมิประเทศ 
               ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของตำบลขามเปี้ย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดกับห้วยลำเซบก ลำเซบาย
มีหนองน้ำขนาดเล็กใหญ่กระจายอยู่ตามพื้นที่การเกษตร ปีใดมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในบริเวณพื้นที่ที่มีที่ราบลุ่มติดกับห้วยลำเซบก ลำเซบาย และพื้นที่ใกล้เคียง  สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์

7. ข้อมูลประชากรในเขตที่รับผิดชอบ

              จำนวนประชากรตามกลุ่มอายุแยกตามเพศ ตำบลขามเปี้ย  มีประชากร  รวมจำนวน  7,584  คน  จำนวนครัวเรือนทั้งตำบล จำนวน  2,430  ครัวเรือน ขนาดสมาชิกในครอบครัว โดยเฉลี่ยครอบครัวหนึ่ง ประมาณ 5 คน โดยแยกเป็น ชาย จำนวน 3,865 คน เป็น หญิง 3,719 คน (ข้อมูลจากฝ่ายงานทะเบียนราษฎร์ อำเภอตระการพืชผล ณ 30 มิถุนายน 2555)
กลุ่มอายุ
ชาย
หญิง
รวม
% ชาย
% หญิง
00-04
216
231
447
2.85
3.05
05-09
259
254
513
3.42
3.35
10-14
305
273
578
4.02
3.60
15-19
354
296
650
4.67
3.90
20-24
347
279
626
4.58
3.68
25-29
367
311
678
4.84
4.10
30-34
359
341
700
4.73
4.50
35-39
302
338
640
3.98
4.46
กลุ่มอายุ
ชาย
หญิง
รวม
% ชาย
% หญิง
40-44
340
316
656
4.48
4.17
45-49
255
241
496
3.36
3.18
50-54
227
207
434
2.99
2.73
55-59
161
200
361
2.12
2.64
60-64
149
133
282
1.96
1.75
65-69
83
109
192
1.09
1.44
70-74
68
85
153
0.90
1.12
75-79
41
55
96
0.54
0.73
80+
32
50
82
0.42
0.66
รวม
3,865
3,719
7,584
50.96
49.04

ที่มา : ข้อมูลจากฝ่ายงานทะเบียนราษฎร์ อำเภอตระการพืชผล ณ 30 มิถุนายน 2555
  

8. ข้อมูลเขตพื้นที่รับผิดชอบ
               

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน
จำนวน
หลังคาเรือน
จำนวนครัวเรือน
จำนวนประชากร
ชาย
หญิง
รวม
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
ขามเปี้ย
น้ำคำ
ท่าบ่อแบง
ขามเปี้ย
บ่อเสียว
นาตาหมุด
นาคิแลน
ศรีสุข
ดอนตะมุน
ดอนหมู
โนนบ่อแบง
โนนไฮ
206
123
49
200
116
81
105
118
129
158
92
49
349
215
84
357
193
158
164
197
217
266
145
85
565
364
129
577
289
268
272
286
393
418
180
124
540
353
119
574
258
252
240
320
375
398
201
89
1,105
717
248
1,151
547
520
512
606
768
816
381
213
รวม
1,426
2,430
3,865
3,719
7,584

ที่มา : ฐานข้อมูล JHCIS 30 มิถุนายน 2555
9. สภาพทางเศรษฐกิจ
1. ด้านอาชีพ
อาชีพหลักโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่ อาชีพทำนา , อาชีพทำไร่ , อาชีพทำสวน , อาชีพเลี้ยงสัตว์  และ อาชีพรับราชาร      อาชีพรองนอกจากเกษตรกรรมคือประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป   ร้านขายอาหาร  ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์  และกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ต่าง ๆ ของรัฐบาล
          2. ด้านหน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
                    -  ร้านอาหาร                       20      แห่ง
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ                6        แห่ง                       
ร้านซ่อม เคาะ พ่น สี รถยนต์/จักรยานยนต์       12      แห่ง
ร้านขายของชำ                            56        แห่ง
โรงสี                              15      แห่ง
3. ด้านสภาพทางสังคม
                    การศึกษา  
                    -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                9        แห่ง              
                    -  โรงเรียนประถมศึกษา            7        แห่ง
                    -  โรงเรียนขยายโอกาส             1        แห่ง
          สถาบันและองค์กรทางศาสนา 
                    -  วัด/สำนักสงฆ์                    9         แห่ง     
                   
ด้านสาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล         2        แห่ง 
                   -  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ    ร้อยละ  100
          4. ด้านการบริการพื้นฐาน
          การคมนาคม 
มีถนนสายหลัก  3   เส้นทาง การคมนาคมภายในตำบลขามเปี้ย  นับว่ามีความสะดวกพอสมควร  เนื่องจากมีถนนทางหลวงชนบท  ตัดผ่านทุกหมู่บ้าน  ในแต่ละหมู่บ้านส่วนมากถนนภายในหมู่บ้านได้จัดทำเป็นถนนคอนกรีตจากงบประมาณองค์การบริการส่วนตำบลขามเปี้ย การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านสามารถติดต่อกันได้ตลอดปี
ด้านการบริการสาธารณะ
-   ตู้ไปรษณีย์                                 1       แห่ง
ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                       13      แห่ง
การโทรคมนาคม  
ที่ทำการไปรษณีย์ตำบล                     1      แห่ง
เสารับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์                 3      แห่ง
          5. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
-  ฝาย / ทำนบ                               1          แห่ง
-  สระน้ำ                                      40        แห่ง
-  ประปาหมู่บ้าน                                12         แห่ง

6.  แหล่งน้ำธรรมชาติ 
ตำบลขามเปี้ย อยู่ติดแหล่งน้ำที่เป็นห้วย หนอง คลอง บึง ประชากรส่วนใหญ่จึงมักจะจับสัตว์น้ำขายตามช่วงฤดูกาลและนำมาบริโภคในครัวเรือน

7. ข้อมูลอื่น ๆ
7.1  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่   
·       ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลขามเปี้ย
แหล่งน้ำมีพื้นที่                                            2,000   ไร่
ป่าไม้มีพื้นที่                                               10,500  ไร่

7.2  มวลชนจัดตั้ง
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน                       115      คน
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน                   140      คน
กลุ่มแม่บ้าน                                                   200     คน
กลุ่มผู้สูงอายุ                                                  696     คน