วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจัดการความรู้KM

การจัดการความรู้ KM 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย


ถอดบทเรียน : การดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ “ดอนหมูโมเดล” ตำบลขามเปี้ย
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

รุ่งโรจน์ ทีอุทิศ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย

บทความเรื่องนี้  เป็นการถอดบทเรียนจากการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพที่เป็นการบูรณาการรูปแบบการทำงานสุขภาพชุมชนของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และโดยเฉพาะนักสุขภาพครอบครัว ข้อมูลที่นำมาสังเคราะห์มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เน้นการถอดบทเรียนในพื้นที่ของบ้านดอนหมูตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล ซึ่งผลจาการศึกษาพบว่า บ้านดอนหมู เป็นชุมชนเข้มแข็งที่มีทุนทางสังคมที่หลากหลาย ดังนั้นการแก้ปัญหาชุมชน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยชุมชน จึงต้องนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ข้อมูลที่ได้สะท้อนให้เห็นว่า แนวคิดของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่มุ่งเน้นถึงการจัดบริการและการดูแลสุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มวัย มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของการรวมกลุ่มของคนในชุมชน  มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เป็นศูนย์แห่งการส่งเสริมสุขภาพสำหรับคนกลุ่มวัยต่างๆ เป็นศูนย์แห่งการสร้างรายได้ซึ่งนำมาซึ่งสุขภาวะที่ดีแก่คนในชุมชน 
          การพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการสร้างเสริมสุขภาพได้นั้น พบว่ามีนักสุขภาพครอบครัวที่ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและเป็นแบบอย่างในการทำงานด้านสุขภาพ มีกลุ่ม     อ.ส.ม. เป็นขุมกำลังสำคัญในการทำงานด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการให้บริการด้านการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคประจำท้องถิ่นของชุมชนและเป็นรูปแบบการทำงานที่แสดงให้เห็นความโดดเด่นในการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งของกลุ่ม อ.ส.ม. อีกด้วย การทำงานด้านสุขภาพร่วมกันระหว่างนักสุขภาพครอบครัวกับกลุ่มองค์กรชุมชน  ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชนที่เน้นการแก้ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของคนกลุ่มวัยต่างๆ ในชุมชน โดยเฉพาะการออกแบบกิจกรรมการบริการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มประชากรวัยเรียนวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับคนกลุ่มวัยต่างๆ ที่ล้วนก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของชุมชนในบ้านดอนหมู 
          ดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของชุมชนในบ้านดอนหมู ซึ่งจะนำสู่การขยายผลเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่พื้นที่แห่งอื่นนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชนของพื้นที่ชุมชนในบ้านดอนหมู โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 ประเด็น ดังนี้

1.        กระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชน  การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่เน้นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย และการมีระบบสุขภาพที่สนองตอบต่อความต้องการของประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายของชุมชน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งได้แก่ นักสุขภาพครอบครัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนในพื้นที่  แนวคิดในการพัฒนาสุขภาพชุมชน คือ การทำงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เน้นการเข้าถึงข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นปัญหาด้านสุขภาพของคนในพื้นที่และปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะของประชากรกลุ่มวัยต่างๆ  ตลอดจนวิธีการทำงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก แบบมีส่วนร่วมในทุกระดับของชุมชน
กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชน มีขั้นตอนการดำเนินการซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ คือ

1) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาสุขภาพชุมชน พบว่า การดำเนินการพัฒนาสุขภาพชุมชนให้ความสำคัญกับการให้บริการดูแลสุขภาพของประชากรทุกกลุ่มวัย ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรเป้าหมายหลักตามชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งได้แก่กลุ่ม WECANDO  กลุ่มเด็กวัย 0-6 ปี  กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มวัยแรงงาน  และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส   
2) การปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสุขภาพชุมชน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ       4 กระบวนการ คือ 
หนึ่ง การค้นหาทุนทางสังคม 
สอง การพัฒนาศักยภาพของผู้ร่วมกระบวนการ 
สาม การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาสุขภาพชุมชน และ
 สี่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาสุขภาพชุมชน

2.     เป้าหมายของการดูแลสุขภาพชุมชน
 2.1 กลุ่มประชากรเป้าหมาย  กลุ่มประชากรเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มประชากรทุกกลุ่มตามชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งได้แก่ 1) กลุ่มเด็กวัย 0-6 ปี  2) กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน  3) กลุ่มสตรี  4) กลุ่มวัยแรงงาน  และ 5) กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส  ล้วนเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาระบบการบริการดูแลสุขภาพของชุมชนทั้งสิ้น  
                   2.2 ประเด็นหรือปัญหาสุขภาพ  ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสำหรับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มวัยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพ จะต้องเรียนรู้ถึงประเด็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ ข้อมูลจากการถอดบทเรียนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชนชี้ให้เห็นว่า ประเด็นหรือปัญหาสุขภาพของพื้นที่แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
1) ปัญหาสุขภาพที่เป็นปัญหาเฉพาะของพื้นที่ ซึ่งได้แก่ ปัญหาโรคไข้เลือดออกซึ่งถือเป็นโรคประจำท้องถิ่น ปํญหาการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกพืช เป็นต้น
2) ปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับประชากรในกลุ่มวัยต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรวัยเด็ก อาทิเช่น โรคอ้วน ปัญหาเด็กติดเกมส์ เป็นต้น กลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เป็นต้น
2.3 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
                             ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากกระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชน สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของผลลัพธ์เชิงระบบ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแก่ประชากรในกลุ่มวัยต่างๆ  การพัฒนาระบบการทำงานของกลุ่มผู้ให้บริการ  เกิดผลลัพธ์ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพคนที่เกี่ยวข้องตลอดกระบวนการ  และที่สำคัญก่อให้เกิดการพัฒนาวิธีการทำงาน  แนวปฏิบัติ ตลอดจนเครื่องมือในการทำงาน
3.   กลไก วิธีการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างรูปธรรม
                    3.1 กระบวนการหาและใช้ทุนทางสังคมในการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคี กลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง  ข้อค้นพบจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ในบ้านดอนหมูมีการนำทุนทางสังคมทั้งหมดที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพและสร้างระบบการดูแลคนกลุ่มวัยต่างๆ ของชุมชน  โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชากรในพื้นที่ ตัวอย่างทุนทางสังคมที่ปรากฏในพื้นที่ มีดังนี้ ซึ่งได้แก่ การมีกลุ่มอสม.ที่เข้มแข็งเป็นฐานและเป็นขุมกำลังในการทำงานด้านสุขภาพ การใช้บ้าน วัด โรงเรียน และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เป็นกลไกหลักในการพัฒนาชุมชน ตลอดจนการจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานด้านสุขภาพระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับองค์กรภาคี
 3.2 กระบวนการค้นหา เลือกใช้ ข้อมูล/ความรู้ ที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ แนวทางการจัดการดูแลสุขภาพ
           จากการศึกษากระบวนการค้นหา เลือกใช้ข้อมูล/ความรู้เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนนั้น พบว่า มีขั้นตอนหรือกระบวนการที่สำคัญคือ 
1) การค้นหาข้อมูล/การสร้างข้อมูล ซึ่งได้แก่ ข้อมูลประชากร ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราการเกิด อัตราตาย และอัตราการเจ็บป่วย ภาวะสุขภาพของประชาชน โรคและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในลักษณะของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มวัย และโรคหรือปัญหาสุขภาพที่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่  เป็นต้น ข้อมูลเกี่ยวกับทุนทางสังคมของพื้นที่ ซึ่งได้แก่ แหล่งประโยชน์ของชุมชน การรวมกลุ่มเครือข่าย/สมาชิกของกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ปราชญ์หรือผู้รู้ของชุมชน ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน เป็นต้น 
2) การสื่อข้อมูล พื้นที่ชุมชนในบ้านดอนหมูมีวิธีการสื่อข้อมูลใน 2 ลักษณะ คือ หนึ่ง การสื่อสารข้อมูลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แบบไม่เป็นทางการ  ซึ่งได้แก่ การพูดคุยในวิถีชีวิตประจำวัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มอาชีพ กลุ่มที่ทำงานร่วมกัน สอง การสื่อสารข้อมูลในลักษณะที่เป็นแบบทางการ ซึ่งได้แก่ การทำประชาคมหมู่บ้าน การจัดประชุมอสม.ประจำเดือน การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาในเวทีต่างๆ การศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เอกสารวิชาการต่างๆ เป็นต้น และ 
3) การใช้ข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน โดยเฉพาะการนำข้อมูลด้านต่างๆ ไปใช้เพื่อการพัฒนาการจัดบริการดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
           3.3 กระบวนการออกแบบวิธีการ กิจกรรมการทำงานที่เป็นรูปธรรม พบว่า กระบวนการออกแบบวิธีการทำงานมีกระบวนการที่สำคัญ คือ
 1)การใช้ข้อมูลปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนเป็นตัวตั้ง
 2)การระดมทุนทางสังคมที่มีอยู่มาใช้ให้เต็มศักยภาพ
3)การพัฒนาศักยภาพผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดกระบวนการ
4)การติดอาวุธทางปัญญาด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ร่วมกระบวนการ
 5)การออกแบบวิธีการ กิจกรรมการทำงานที่สนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของพื้นที่
          3.4 กระบวนการพัฒนากติกา ข้อตกลง หรือนโยบายในระดับพื้นที่ จากปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมายหลักของชุมชน นำสู่การพัฒนากติกา ข้อตกลง หรือการจัดทำนโยบายระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพ พบว่า กระบวนการพัฒนากติกา ข้อตกลง หรือแนวทางการทำงาน ของผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนในบ้านดอนหมู มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1) การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสุขภาพของพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายหลักของชุมชน
2) การเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาที่กลุ่มให้ความสนใจ
3) การค้นหาแนวทาง ทางออกในการแก้ปัญหา โดยการนำทุนทางสังคมที่มีมาใช้ในการ
 แก้ปัญหา
4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพัฒนา ข้อตกลงแผนการดำเนินการ เพื่อการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
5) ผลจากการพัฒนาข้อตกลง แนวทางการดำเนินการ อาจนำสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ แบบบูรณาการโดยกำหนดและจัดทำเป็นแผนสุขภาพชุมชน หรือโครงการ/ แผนกิจกรรม
4.    บทบาทหน้าที่ขององค์กรและภาคีที่เกี่ยวข้องกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนมีองค์กรที่เกี่ยวข้องตลอดกระบวนการ ซึ่งได้แก่องค์กร/ภาคีที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่/กิจกรรม
สถานบริการสุขภาพในพื้นที่ รพ.สต.ขามเปี้ย
= การเป็นผู้พัฒนาระบบบริการที่เน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพชุมชน เป็นแหล่งข้อมูล
= เป็นผู้เชื่อมประสานทั้งในส่วนของประชาชนผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพ
= เป็นผู้ให้การสนับสนุน (แนวคิดเชิงวิชาการ เครื่องมืออุปกรณ์)
= ออกแบบและจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค
= พัฒนาศักยภาพผู้เที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม.
= ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีประชาคม
= เป็นพี่เลี้ยงในการทำงานสุขภาพชุมชน
= ร่วมจัดทำแผนสุขภาพ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.)
= สนับสนุนงบประมาณ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์/เครือข่ายการเรียนรู้
= ประชาคม เสนอความคิดเห็น
= สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ กำลังคน
= ร่วมจัดทำแผนสุขภาพ/แผนแม่บทชุมชน
= ประสานความร่วมมือ
กลุ่ม/เครือข่ายต่างๆ
= ร่วมเสนอความคิดเห็นในเวทีประชาคม
= ประชาสัมพันธ์แบบคนต่อคน แบบบอกต่อ
= ออกแบบกิจกรรม วางแผน จัดทำแผนกิจกรรมกลุ่มอสม.
= ร่วมดำเนินงานสุขภาพ เช่น คัดกรอง เยี่ยมบ้าน พ่นยา ให้คำแนะนำ
= ร่วมเวทีประชาคม
ประชาสัมพันธ์
= สนับสนุนการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆ
วัด/เจ้าอาวาส
= สนับสนุนสถานที่จัดกิจกรรม
= ให้คำแนะนำ  ประสานความร่วมมือ
= สนับสนุนงบประมาณ (ผ้าป่า)
โรงเรียน/ครู
= สถานที่จัดกิจกรรม
= ร่วมออกแบบการจัดบริการ
= ให้ความร่วมมือ แนะนำ ติดตาม และร่วมประเมินผล

5. เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของการออกแบบการพัฒนาสุขภาพชุมชน
พบว่า เงื่อนไขและปัจจัยของความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่นำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 
1.การสร้างเสริมสุขภาพโดยอาศัยความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง เกิดจากความต้องการที่จะจัดการกับปัญหาสุขภาพ ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดแรงผลักดันที่ต้องการที่จะให้ตนและชุมชนมีความผาสุก สะท้อนให้เห็นจากกิจกรรมและโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่ผ่านจากการกลั่นกรองจากความคิดของประชาคมเพื่อจะตอบสนองปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน 
2) การสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ   โดยมีวิธีการออกแบบการทำงานที่ต้องอาศัยบุคคลากรหลายฝ่ายทั้งสถานบริการสุขภาพในพื้นที่  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้นำชุมชน กลุ่ม  อสม. ประธานกลุ่ม/เครือข่ายต่างๆ แกนนำชุมชน ที่ต้องมีส่วนร่วมตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชน การค้นหาทุนทางสังคมที่มีอยู่และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ปัญหาชุมชน 

นักสุขภาพครอบครัวกับการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนนักสุขภาพครอบครัวคือกลไกหลักแห่งความสำเร็จ
            ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการสร้างเสริมสุขภาพและมุ่งเน้นการดูแลแบบบูรณาการที่หลอมรวมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นักสุขภาพครอบครัวคือกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชน นักสุขภาพครอบครัวสามารถร่วมสร้างสรรค์ สนับสนุน และสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักสุขภาพครอบครัวในงานสุขภาพปฐมภูมิ โดยมีสมรรถนะของการทำงาน ดังนี้
1)      พัฒนาการเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพ โดยให้บริการด้านสุขภาพที่ครอบคลุม ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในชุมชน
2)      มีความไวเชิงวัฒนธรรม ไวต่อสถานการณ์ ประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ พร้อมทั้งทำความเข้าใจต่อปัญหาสุขภาพ ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน รวมถึงสามารถวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุและเป็นแนวทางแห่งการแก้ปัญหา
3)      ออกแบบการบริการดูแลที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหลักทุกกลุ่มของชุมชน โดยนำปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนเป็นตัวตั้ง นักสุขภาพครอบครัวเป็นบุคคลสำคัญที่สามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะ เน้นการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสภาพของบุคคล ให้มีวิถีชีวิตที่เหมาะสม ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
4)      ปรับปรุงวิธีการทำงานและมีใจยินดีตอบรับกับการเรียนรู้ประเด็นปัญหาสุขภาพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา อาทิเช่น ปรับปรุงวิธีการเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการย้ายถิ่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ การบาดเจ็บและอุบัติเหตุ เป็นต้น
5)      ให้ความสำคัญกับการพิทักษ์สิทธิ เน้นความเสมอภาคของผู้รับบริการทุกคน
6)      กระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลสุขภาพ ระหว่างองค์กรวิชาชีพกับองค์กรอื่นๆ
7)      มุ่งเน้นการแก้ปัญหาสุขภาพโดยการทำวิจัยที่สนับสนุนงานด้านการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน รวมถึงการเผยแพร่งานวิจัยแก่ผู้อื่น และการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน
8)      เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การทำงานแบบหุ้นส่วนที่เชื่อมร้อยเครือข่ายที่มีอยู่ในชุมชน
9)      ปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการค้นหาและใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
10)   พัฒนาทักษะการสื่อสารทางสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาให้ชุมชนเป็นพื้นที่/ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้เรื่องระบบสุขภาพชุมชน นักสุขภาพครอบครัวจะต้องเปิดช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อความรู้สู่ชุมชน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคมหรือเวทีสาธารณะในชุมชน การจัดประชุมวิชาการ/อบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ร่วมกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เป็นต้น



ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์

ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์

ตำบลขามเปี้ยรับรางวัลตำบลจัดการสุขภาพระดับยอดเยี่ยมของจังหวัดอุบลราชธานีปี57



อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.นักจัดการสุขภาพกลุ่มวัย นักจัดการสุขภาพชุมชน อ.ตระการพืชผล 57





ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ







เครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ


ข้อมูลตำบล



ส่วนที่ 1. ข้อมูลทั่วไปของตำบลตำบล
 
         
1.ด้านภูมิศาสตร์
1.1 ทำเลที่ตั้งตำบล ตำบลขามเปี้ยเป็น 1 ใน 23 ตำบล ในเขตอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง 4 ส่วนคือ ตำบลเซเป็ด, ตำบลสะพือ,ตำบลท่าเมือง,อำเภอดอนมดแดงจังหวัดอุบลราชธานี และ ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ดังนี้
 
ทิศเหนือ          จรด    ตำบลไหล่ทุ่ง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
    ทิศใต้             จรด    ตำบลท่าเมือง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันออก     จรด    ตำบลตระการ  อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
    ทิศตะวันตก      จรด    ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
          โดยตำบลขามเปี้ย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ไปทางทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร และอยุ่ห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 50 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 95 ตร.กม. / ประมาณ 59,375 ไร่
 








      

                                            ภาพที่ 1.1 แผนที่ตำบลขามเปี้ย



1.2 สภาพพื้นที่
                        เนื้อที่
                         ตำบลขามเปี้ยมีพื้นที่ราบ ลาดเอียงไปทางทิศใต้ ติดกับลำเซบาย ดินเป็นดินร่วนปนทราย
                       

ภูมิประเทศ
                        ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของตำบลขามเปี้ย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดกับห้วยลำเซบก มีหนองน้ำขนาดเล็กใหญ่กระจาย  ปีใดมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ราบลุ่มติดกับห้วยลำเซบกและพื้นที่ใกล้เคียง  สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
1.3 ทรัพยากรธรรมชาติ
  ตำบลขามเปี้ย  อยู่ติดแหล่งน้ำที่เป็นห้วย หนอง คลอง บึง ประชากรส่วนใหญ่จึงมักจะจับสัตว์น้ำขายตามช่วงฤดูกาลและนำมาบริโภคในครัวเรือน
  ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ตำบลขามเปี้ย
แหล่งน้ำมีพื้นที่      2,000   ไร่
ป่าไม้มีพื้นที่         10,500  ไร่
1.4 แหล่งน้ำ 
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
-  ฝาย / ทำนบ                               1              แห่ง
-  สระน้ำ                                      40              แห่ง
-  ประปาหมู่บ้าน                           12         แห่ง
          2. ด้านการปกครอง
              2.1 จำนวนหมู่บ้าน     12                                   หมู่บ้าน
              2.2 จำนวนครัวเรือน  1,479  ครัวเรือน
              2.3 จำนวนประชากร 7,725  คน      
จำแนกเป็น       ชาย    3,930 คน    หญิง   3795  คน
          3. ด้านสังคม
              3.1 โรงเรียน          8   แห่ง
              3.2 สถานีตำรวจ      -   แห่ง
              3.3 วัด                 9   แห่ง
              3.4 กลุ่มสังคม         -    แห่ง



         
4. ข้อมูลด้านสุขภาพทั้งตำบล
                    - จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 0 - 6 ปี)        447    คน
                   - จำนวน เด็กวัยเรียน (อายุ 7 - 18 ปี)            640    คน
                   - จำนวนวัยทำงาน (อายุ 19 - 60 ปี)           2,515   คน
                   - จำนวนผู้สูงอายุ (อายุ60 ปีขึ้นไป)             822    คน
                   - จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง                             350   คน

                   - จำนวน อสม. ทั้งตำบล                             117   คน